โรคภูมิคุ้มกันต้านตัวเองคืออะไร , โรคออโตอิมมูลคืออะไร
โรคภูมิคุ้มกันต้านตัวเอง (Autoimmune/ออโตอิมมูน)
ชมคลิป โรคภูมิคุ้มกันต้านตัวเอง (Autoimmune),โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์,SLE(แพ้ภูมิตัวเองหรือโรคพุ่มพวง,สะเก็ตเงิน,เบาหวาน,พาร์กินสัน,อัลไซเมอร์,หอบหืด สาเหตุการป้องกันและการดูแลสุขภาพ โดย รศ.ดร.ภญ.อำไพปั้นทอง
Autoimmune Diseases (โรคออโตอิมมูน)
เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน (เซลล์เม็ดเลือดขาว มีหลายชนิด)
- แต่ละชนิดจะทำหน้าที่ต่างๆ กัน และทำงานประสานกันเป็นเครือข่ายส่งต่อกัน
- ทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคต่าง สารเคมี สิ่งแปลกปลอมและสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายที่ทำร้ายเนื้อเยื่อ/อวัยวะของร่างกาย
โรคออโตอิมมูน หมายถึงการที่ภูมิคุ้มกันร่างกายเข้าทำร้ายร่างกายของตัวเอง
โรคออโตอิมมูนระบบภูมิคุ้มกันจะสูญเสียความทรงจำ
- ไม่สามารถแยากแยะเนื้อเยื่อตัวเองออกจากสิ่งแปลกปลอมจึงจู่โจมทำร้ายเนื้อเยื่อ/อวัยะของตนเอง
- เกิดการอักเสบขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถูกทำลายเสียหาย และทำงานไม่ได้ในที่สุด
♦ ปัจจุบันยังไม่รู้ว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิด โรคออโตอิมมูล (โรคภูมิแพ้ตนเอง หรือ โรคภูมิต้านตนเอง)
♦ แต่เชื่อว่า โรคออโต้อิมมูน น่าจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน บางรายอาจมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เสื่องต่อการเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (เกิดกับผู้ป่วยประมาณ 10 %)
♦ แต่จะยังไม่แสดงอาการจนกว่าได้รับแรงกระตุ้นจากภายนอก เช่น การติดเชื้อ ความเครียด แสงแดด การมี หรือได้รับ ฮอร์โมนเพศหญิงสูงเกินไปในวัยทอง และ การสูบบุหรี ปัจจัยเหล่านี้จะกระตุ้นให้สารพันธุกรรมแสดงอาการออกมา
♦ ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แม้ว่าจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านพันธุกรรมก็ตาม
♦ ในประเทศไทยพบ"โรคออโตอิมมูน" พบได้บ่อยพอสมควร
♦ โรคเบาหวานประเภทที่ 1 (ซึ่งเป็นโรคออโตอิมมูนที่เกิดกับตับอ่อน พบได้ประมาณ 5-10 % ของเบาหวานทั้งหมด
♦ โรคเอสแอลอี (SLE) หรือ "โรคพุ่มพวง" และโรค ข้ออักเสบมรูมาตอยด์ (RA) หรือโรคข้อรูมาตอยด์ พบได้ใกล้เคียงกันคือ ประมาณ 2-3 คนต่อประกรพันคน ในขณะที่โรคหนังแข็ง (Scleroderma) พบได้น้อยมาก ไม่ถึง 1 คน ต่อประชากรหมื่นคน
ใครบ้างที่เสื่องต่อการเป็นโรคออโตอิมมูน
♦ เกิดได้กับคนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่ทารกจนถึงผู้สูงอายุ แต่กลุ่มที่มีความเสื่อมมสูงกว่ากลุ่มอื่นได้แก่
- หญิงวัยเจริญพันธุ์ โรคออโตอิมมูนเกือบทุกชนิดพบในเพศหญิงได้มากกว่าเพศชาย 5-10 เท่า จึงเชื่อว่าน่าจะสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศหญิง
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคออโตอิมมูนชนิดใดชนิดหนึง เช่น โรคต่อมไทยรอยด์เป็นพิษ โรคเบาหวานประเภทที่ 1 โรคข้อรูมาตอยด์ โรคเอสแอลอี โรคหนังแข็ง เป็นต้น
- อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้โรคออโตอิมมูนแสดงอาการ เช่น สัมผัสแสงแดด(เกิดผิ่นบนใบหน้าสองแก้ม) มีการติดเชื้อแบคทีเรีย(ท้องเสีย เป็นหวัด) สูบบุหรี ได้รับสารเคมีบางชนิดหรืออยู่ในภาวะความเครียด หรืออดนอนพักผ่อนน้อย
- เชื้อชาติไม่ได้เพิ่มความเสื่องต่อการเป็นโรคโดยตรง แต่เป็นตัวกำหนดความรุนแรงของโรคได้
รู้ได้อย่างไรว่าเราน่าจะป่วยเป็น"โรคออโตอิมมูน"
ดูจากอาการที่เกิดขึ้น
► เกิดกับอวัยวะหรือระบบของร่างกายเพียงระบบเดียว อาการจะเกิดขึ้นกับการทำงานของอวัยวะนั้นๆ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้เกิดอาการอ่อนแรง อ เดินขั้นบันไดลำบาก ยกแขนไม่ขึ้น หนังตาตก หรือสำลักง่าย เนื่องจากกล้ามเนื้อการกลืนไม่ทำงาน
- ต่อมไทรอยด์ ทำให้เกิดอาการของต่อมไทยรอยด์เป็นพิษ (ใจสั่น มือสั้น เหงือออกง่าย หงุดหงิด กินจุ แต่น้ำหนักลด)
- ผิวหนัง เกิดผื่นขึ้นตามผิวหนัง เล็บ และเยื่อบุต่างๆ เช่น ผื่นพุพอง ตามผิวหนังและเยื่อบุช่องปาก ด่างขาว แผลเรื้อรังจากหลอดเลือดอักเสบ
- ระบบประสาท เกิดอาการที่ควบคุมโดยระบบประสาทผิดปกติ เช่น ขา หรือไม่มีแรงจากปลายประสาทอักเสบฯลฯ
- เลือด เช่น ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดง เกิดจุดจ้ำเลือดตามตัว จากเกล็ดเลือดต่ำ
- หู เช่น หูหนวก ฉับพลัน
- ตา เช่น จอประสาทตาอักเสบ จอประสาทตาเสื่อม ตาแห้ง ตาแดง ปวดตา ฯลฯ
► เกิดกับอวัยะวะหรือระบบของร่างกายหลายระบบพร้อมกัน จะเกิดอาการหลายๆ อย่างพร้อมกัน
► โรคสะเก็ตเงิน
- ผื่นตามตัว ตกสะเก็ต ปวดข้อ มีใข้ แพ้อาหารบางอย่าง
► โรคเอสแอลอี
- อาการ ปวดตามข้อ ผมร่วง มีผื่นแพ้แสงแดด
- มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด แต่โรคอื่นๆ ก็ทำให้เกิดอาการแบบเดียวกันนี้ได้ เช่น โรคติดเชื้อเรื้อรัง วัณโรค หรือ โรคมะเร็ง แพทย์จึงมักจะขอตรวจเลือดเพิ่มเติมอีกหลายอย่าง เพื่อช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยแต่บางครั้งผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการยังไม่ชัดเจนพอที่จะวินิจฉัยโรคและให้การรักษาได้ แพทย์จะขอดูอาการต่อไปก่อนจนมีอาการที่ชัดเจนขึ้น หรือต้องตรวจเลือดซ้ำหลายครั้งในบางรายอาจจะต้องใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะวินิจฉัยโรคได้
โรคออโตอิมมูนที่พบบ่อย
⇒ โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) : การอักเสบของข้อและเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ
⇒ โรคเอสแอลดี (Systemic Lupus Erythematosus) : มีการอักเสบของผิวหนัง ข้อต่อ ไต สมอง และอวัยวะอื่นๆ
⇒ โรคแพ้กลูเตน (Celiac Sprue Disease) : (พบในข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาเลย์) เกิดการทำลายเยื่อบุลำไส้เล็ก
⇒ โรคโลหิตจางร้ายแรง (Permicious Anemia) : จำนวนเม็ดเลือดแดงลดลงมาจากการที่ลำไส้ไม่สามารถดูดซึม vitamin 8-12 ได้
⇒ โรคด่างขาว (Vitiligo) : ด่างขาวบนผิวหนังเนื่องจากสูญเสียเม็ดสีเมลานิน
⇒ โรคหนังแข็ง (Scleroderma) : โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่บริเวณ ผิวหนัง,หลอดเลือด,กล้ามเนื้อ,และอวัยวะภายใน
⇒ โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) ผิวหนังเป็นผื่นแดง ระคายเคือง เซลล์ผิวหนังแบ่งตัวรวดเร็วมาก ผิวหนังหนาขึ้น ตกสะเก็ดเป็นแผ่นสีขาวเงิน
⇒ โรคลำไส้แปรปรวน (Inflammatory Bowel Syndrome) : การอักเสบของลำไส้เล็ก และ ลำไส้ใหญ่
⇒ โรคแอดดิสัน (Addison´s disease) การขาดฮอร์โมนของต่อมหมวกไต อ่อนเพลียมาก เชื่องช้าลง เบื่ออาหาร ผอมลง วิงเวียนถึงเป็นลม ฯลฯ
⇒ โรคไทรอยด์เป็นพิษ (Graves´disease) : ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ หรือ Thyrotoxicosis
⇒ โรคข้ออักเสบ (Reactive Arthritis) การอักเสบของข้อ ท่อปัสสาวะ และตา อาจเกิดแผลอักเสบที่ผิวหนัง และเยื่อบุต่างๆ
⇒ โรคปากและตาแห้ง มีการทำลายต่อมน้ำตาและต่อมน้ำลาย ทำให้ตาแห้งและปากแห้ง นอกจากนี้อาจเกิดการทำลายปอดและไตด้วย
⇒ โรคเบาหวานประเภทที่1 (Type 1 diabetes) : ระบบภูมิคุ้มกันไปทำลายเบต้าเซลล์ของตับอ่อนที่สร้างอินซูลิน
มียารักษาหรือไม่
มียารักษาอาการ ขึ้นอยู่กับว่าเป็น"โรคออโตอิมมูน"ชนิดไหน ยาที่ใช้รักษามี 3 กลุ่มๆ ดังนี้
- ยาที่ใช้บรรเทาอาการ เช่นยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือ "ยาเอ็นเสดส์" ใช้เพื่อลดอาการปวดข้อเนื่องจากข้ออักเสบ
- ยารักษาอาการซึมเศร้า หมดเรี่ยวแรง ยานอนหลับ หรือ ยาช่วยบรรเทาอาการใจสั่น มือสั่น
- ยาที่ใช้ทดแทนฮอร์โมน หรือสารที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ เช่น ยาอินซูลิน(ที่ใช้รักษาเบาหวานประเภทที่1
- ยาต่อต้านการทำงานของฮอร์โมน ในกรณีที่ร่างกายปลดปล่อยฮอร์โมนออกมามากเกิดไป เช่น ใช้ยาเข้าไปต่อต้านการทำงานของต่อมไทรอยด์ในรายที่ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น
- ยากดภูมิคุ้มกัน ใช้เพื่อควบคุมโรคไม่ให้อวัยวะของร่างกายถูกทำลาย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไป เช่น สเตียรอยด์ ใช้ควบคุมภาวะไตอักเสบจากโรคเอสแอลอี
- ยาในกลุ่มเคมีบำบัด แพทย์จะสั่งให้ในรายที่ใช้ สเตียรอยด์ ไม่ได้ผล หรือ ลดขนาด สเตรียรอยด์ ลงไม่ได้ หรือเกิดอาการข้างเคียงรุนแรงจากการใช้ สเตียรอยด์ขนาดสูง ผู้ป่วยโรคออโตอิมมูนที่ต้องกินสเตียรอยด์จะมีความเสื่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น เนื่องจากกดการทำงานของเม็ดเลือดขาวอย่างมาก ผู้ป่วยจึงต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แพทย์่จะนัดติดตามดูอาการและเจาะเลือดตรวจเป็นระยะๆ เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้ยากดภูมิคุ้มกันมากเกินไป
จำเป็นต้องยาตลอดชีวิตหรือไม่
- ถึงแม้โรคออโตอิมมูนเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่อาจ "ไม่จำเป็นต้องกินยาตลอดชีวิตเสมอไป" ขึ้นกับว่าป่วยด้วยโรคออโตอิมมูนชนิดไหน
- ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ แพทย์จะให้กินยาควบคุมอาการประมาณ 2 ปีแล้วหยุดยา จะมีผู้ป่วยราวครึ่งหนึ่งที่หยุดยาได้โดยโรคไม่กำเริ่บขึ้นอีก แต่ถ้ากำเริบก็ต้องกินยาซ้ำ
- โรคเบาหวานประเภทที่ 1 เนื่องจากร่างกายสร้างอินซูลินเองไม่ได้ จำเป็นต้องฉีดยาอินซูลินทดแทนตลอดชีวิต
- เอสแอลอี จำเป็นต้องได้รับการรักษาและติดตามอาการระยะยาว อาจมีผู้ป่วยบางรายที่ สามารถหยุดยาได้ แต่แพทย์ก็มักจะนัดติดตามดูอาการ และเจาะเลือดเป็นระยะๆ เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้อาการกำเริบ
- ในบางโรคแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยกินยาไปเรื่อยๆ ตรามเท่าที่ไม่มีอาการข้างเคียงจายา เพื่อป้องกันการกำเริบของโรค
การดูแลตนเอง และป้องกันโรคกำเริบ
- ต้องตั้งสติ เมื่อโรคกำเริบหรือกลับมามีอาการผิดปกติอีกหลังจากดีขึ้นหรืออาการหายไปแล้ว
- การกำเริบของโรค ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ
- สำรวจว่ามีอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการกำเริบของโรคเมื่อมีอาการเพิ่มขึ้นเล็กๆ น้อยๆ
- ต้องรีบรักษาอาการ อย่างปล่อยทิ้งไว้ หรือรอจนกว่าอาการรุนแรง
- ถ้าบุคคลในครอบครัวเป็น ต้องคอยสังเกตุตัวเองว่ามีอาการอะไร เกิดขึ้นหรือไม่ เมื่อเจอสิ่งกระตุ้น
ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้โรคออโตอิมมูนกำเริบ
- ขาดยา
- ติดเชื้อแทรกซ้อน เช่น โรคหวัด ท้องเสีย ปัสสาวะแสบขัด
- พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานดึก อดนอน ร่างกายอ่อนแอ
- ความเครียด จากปัญหา ครอบครัว การทำงาน การเรียน หรือปัญหาด้านเศรษฐกิจ
- แสงแดด เช่น ออกกำลังกาย หรือทำงานกลางแดด (พบในผู้ป่วย เอส แอล อี) ถ้าจำเป็นต้องออกกลางแดด ควรกลางร่ม ใส่หมวด ใส่เสื้อแขนยาวสีขาว หรือใช้ครีมกันแดด (SPFมากกว่า 30)
โรคภูมิคุ้มกันต้านตัวเองคืออะไร , โรคออโตอิมมูลคืออะไร
นวัตกรรมAPCO กับทุกปัญหาสุขภาพ
บรรยายเรื่องงานวิจัย APCO มหัศจรรย์ภูมิสมดุล กับทุกปัญหาสุขภาพ โดย ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะนักวิจัย Operation bim "การสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สมดุล"
บรรยาย โดย ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะนักวิจัย Operation bim
นวัตกรรม งานวิจัย Operation BIM ลดปัญหา ข้อเข่าเสื่อม ข้ออักเสบ ลดปัญหา การแพ้ภูมิตัวเเอง เช่น รูมาตอยด์ SLE และหอบหืด
นวัตกรรม งานวิจัย Operation BIM ลดปัญหา เบาหวาน ที่ต้นเหตุ จากการที่มีเม็ดเลือดขาวสร้างภูมิคุ้มกันมากเกินไป แก้ด้วยการปรับภูมิคุ้มกันให้สมดุล โดยการทำงานของเม็ดเลือดขาว ด้วยแคปซูล นวัตกรรมงานวิจัย Operation bim สกัดจากมังคุด ถั่วเหลือง งาดำ ฝรั่ง ใบบัวบก ซึ่งเป็นวิธีการที่ดูแลที่ต้นเหตุ
ผู้ที่มีปัญหาเบาหวาน เม็ดเลือดขาวมีการหลั่งสาร TNF-Alpha ,IFN-y มากเกินไป
- ทำลายตับอ่อนให้หลัง Insullin ได้น้อยลง
- ทำให้เกิดการดื้อต่อ Insulin ด้วย
และเม็ดเลือดขาวมีการหลั่งสาร IL17 มากเกินไป ทำให้อาการแพ้ภูมิตัวเองรุนแรงขึ้น
แคปซูลนวัตกรรม งานวิจัย Operation bim ช่วยลดการหลังสาร 3 ตัว TNF-Alpha ,IFN-y และ IL17 ลดลง อาการเบาหวานทั้ง 2 ประเภทจึงลดลงทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
น้ำมังคุด Apco Essence รสชาติดี ไม่เติมน้ำตาล ไม่มีสีสังเคราะห์ ไม่แต่งกลิ่นด้วยสารเคมี ไม่มีสารกันบูด ไม่ใส่เปลือด จึงไม่ยนเปื้อนยาฆ่าแมลง และไม่มีแทนนินจากเปลือกมากเกินไปจนเป็นพิษต่อตับ สามารถลดอาการแพ้ภูมิตัวเองได้
|