" วิวัฒนาการล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์ไทยเกี่ยวกับการสร้างสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน "
คณะนักวิจัย Operation BIM นำโดย ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา "APCO" แอปโก้
โรคกระเพาะและกรดไหลย้อน คล้ายกัน แต่อาการของโรคและตำแหน่งที่แสดงอาการต่างกัน
โรคกระเพาะหรือแผลในกระเพาะ
โรคกระเพาะอาหาร หมายถึง ภาวะมีแผลที่เยื่อบุกระเพาะอาหาร และลำไส้ส่วนต้น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีกรดในกระเพราะอาหารมากเกินไป เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอและมีเชื้อแบคทีเรีย Hellcobacter pylori ซึ่งหลั่งสารพิษออกมาทำให้เกิดแผลเรื้อรังขึ้น จะมีอาการ ปวดเสียด จุกและแน่นที่ใต้ลิ้นปี ปวดท้องก่อนอาหาร ปวดตอนท้องว่าง ฯ ปัจจัยที่ทำให้เกิด ส่วนใหญ่มาจาก การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ติดเชื้อแบคทีเรีย เยื่อบุกระเพาะอ่อนแอฯ
โรคกรดไหลย้อน (GERDหรือเกิร์ด)
โรคกรดไหลย้อน เป็นผลมาจากกรด และน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปใน
การกระตุ้นเม็ดเลือดขาว Th1 และ Treg จะส่งผลให้ Th2 ซึ่งเป็นต้นเหตุของการอักเสบลดลง อีกทั้งการกระตุ้นเม็ดเลือดขาว Th1 และ Th17 ยังเพิ่มความสามารถของเม็ดเลือดขาวเพชฒฆาตให้จัดการกับเชื้อแบคทีเรีย H.pytori ได้มากขึ้น จึงเป็นวิธีการที่ใช้ลดอาการโรคกระเพาะอาหาร และกรดไหลย้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพหลอดอาหาร ทำให้เยื่อบุหลอดอาหารอักเสบตามมา จะมีอาการท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ จุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ คล้ายโรคกระเพาะ แต่ยังมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น เจ้บคอ กลืนลำบาก รู้สึกมีก้อนจุกที่คอ แสบลิ้นเรื้อรัง แสบร้อน บริเวณหน้าอก เรอเปรี้ยว หรือมีรสขมในปาก เสียงแหบ ไอเรื้อรัง หรือบางรายอาจมีอาการหอบหืดร่วมด้วย สาเหตุสำคัญของโรคนี้คือ มีความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหารและการบีบตัวของกระเพาะอาหารทำให้อาหารค้างในลำไส้นานกว่าปกติรวมทั้งมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ ทานอาหารมากเกินไปในมื้อเดียว รับประทานอาหารแล้วเข้านอน ทานอาหารดึกฯ
คณะวิจัย Operation BIM "APCO" ได้วิจัย และพัฒนาสารเสริมประสิทธิภาพจากสารมังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่งและบัวบก จนได้แคปซูลเสริมอาหาร ที่พิสูจน์โดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์แล้วว่า สามารถกระตุ้นการทำงานของ Th1 และ Treg ได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้น Th17 ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นหลายเท่า
คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อดูแลสุขภาพของผู้ที่มีปัญหากรดไหลย้อน
- กินอาหารมื้อเล็ก ๆ การรับประทานอิ่มเกินไปจะทำให้หูรูดหลอดอาหารเปิดง่ายขึ้นและทำให้เกิดการย้อนของกรดง่ายขึ้น ดั้งนั้นจึงควรแบ่งกินอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ และรับประทานให้บ่อยขึ้น
- ไม่ควรเข้านอนหรือเอนกายหลังอาหารทันที หลังรับประทานอาหารเสร็จควรรออย่างน้อย 3 ชม. จึงเอนตัวนอน
- งดบุหรีและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารนิโคตินในบุหรี่เพิ่มความเป็นกรดในกระเพราะอาหารและทำให้หูรูดอ่อนแอ ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้หูรูดเปิดออกได้เช่นกัน
- ยกศรีษะและลำตัวให้สูง ในผุ้ที่มีอาการของกรดไหลย้อนขณะนอนราบ การนอนโดยเสริมด้านหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6 นิ้ว จะช่วยป้องกันการไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารได้ โดยไม่ควรใช้วิธีการหนุนหมอนหลาย ๆ ใบ เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องเกร็งตัว ซึ่งจะทำให้แรงดันจากในท้องสูงขึ้นและดันให้กรดย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารได้ง่ายขึ้น
- ลดแรงกดต่อกระเพาะอาหาร เสื้อผ้าและเข็มขัดที่รัดแน่นบริเวณผนังหน้าท้อง การก้มตัวไปด้านหน้าน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน ล้วนเป็นสาเหตุที่เพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหารและทำให้กรดไหลย้อนกลับ
- ผ่อนคลายความเครียด
- ไม่ควรทานมื้อดึกใกล้เวลานอน
อาหาร ,สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง,และสาเหตุที่ทำให้เป็น "กรดไหลย้อน"
- ชา กาแฟ และน้ำอัดลมทุกชนิด เบียร์ โซดา สุรา น้ำผลไม้ อาหารที่มีรสเปรียว
- อาหารทอด อาหารมัน อาหารไขมันสูง
- อาหารรสจัด รสเผ็ด เปรี้ยว อาหารหมักดอง
- หอมหัวใหญ่ สะระแหน่ เปปเปอร์มิ้นต์
- ช็อกโกแลต
- หอม กระเทียม มะเขือเทศ
- ความเครียด เวลาเครียดหรือโมโหมากๆ อารมณ์ที่พุ่งขึ้นมาจะกระตุ้นให้การหลั่งของกรดในกระเพาะออกมามากเกิน
- รับประทานอาหารที่มากเกินไปจนทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ทำให้กรดในกระเพาะล้นออกมา
- น้ำหนักตัวมากเกินไป หรืออ้วน ไขมันหน้าท้่องจะไปเบียดกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้
- การตั้งครรภ์ ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เป็นกรดไหลย้อนได้ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อนได้
- ยาบางชนิด เช่น ยาขยายหลอดลม ยากลดความดันโลหิต การสูบบุหรีฯ
"การสร้างภูมิคุ้มกันที่สมดุล เป็นมิติใหม่ของการดูแลสุขภาพ"
http://www.bim100-th17.com/OperationBimResearcher.html
|